วันศุกร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2551

สรุปผลการวิจัย

รายงานการวิจัยเรื่อง "การศึกษาภูมิปัญญาหมองู" กรณีศึกษาการใช้สมุนไพรเพื่อการรักษาของสถานพยาบาลบ้านกาชาดอุทิศ ตำบลพรหมโลก อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา ๓ ประการ คือ
๑ เพื่อศึกษาชนิดและสรรพคุณของสมุนไพรที่ใช้ประกอบเป็นตัวยาในการแก้พิษงู
๒ ศึกษากระบวนการใช้สมุนไพรเป็นตัวยาในการรักษาพิษงู
๓ ศึกษาความคิดเห็นของผู้ป่วยท่ส่งผลต่อการรักษาพยาบาลบ้านกาชาดอุทิศ วัดพรหมโลก อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช
การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลภาคสนามในเขตพื้นที่ศึกษา ด้วยวิธีการสัมภาษณ์ และการสังเกต แล้วจดบันทึกการสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างจำนวน ๓๙ คน และการสังเกตกระบวนการรักษษของสถานพยาบาลบ้านกาชาดอุทิศ
ผลจากการศึกษาพอสรุปได้ว่าพืชเป็นตัวยาใช้รักษาพิษงูในพื้นที่ศึกษามี ๓๔ ชนิดยาที่ปรุงใช้มีถึง ๙ ประเภทดังนี้ ยาพ่น ยาพาด ยาโปะ ยาแช่ ยาอม ยากิน ยาทา ยาน้ำมัน ยาผงซึ่งใช้รักษาพิษงู กระบวนการรักษาพบว่าสมุนไพรสามารถรักษาพิษงูได้ผลจริงผู้ท่มารักษามีความเชื่อและศรัทธา

วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2551

หัวข้อสนใจที่ศึกษา

กระจูด” เป็นพืชตระกูลเดียวกับ “กก” (Sedge) คือ ในตระกูล Cyperaccae มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Lepironia artica late กระจูด เป็นวัชพืชที่เจริญเติบโตง่าย และแพร่พันธุ์ได้รวดเร็ว พบมากแถบภาคตะวันออก และภาคใต้ของประเทศไทย ลำต้นของกระจูดมีลักษณะกลมกลวง มีข้อปล้องภายในคล้ายลำไผ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1/8 – 5/16 นิ้ว ความสูงประมาณ 1 – 3 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเผ่าพันธุ์และสภาพแวดล้อม ต้นกระจูด ชอบขึ้นในที่ ๆ มีน้ำขังอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะบริเวณริมทะเลสาบที่เป็นดินโคลน ซึ่งเรียกว่า “พรุ” หรือชาวพื้นเมืองทางภาคใต้เรียกว่า “โพระ” ต้นกระจูดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติจะมีขนาดเล็ก และไม่ยาวนัก การเพาะปลูกกระจูดต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 3 ปี ต้นจึงจะโตได้ขนาด สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ คือ ลำต้นยาวไม่ต่ำกว่า 1 เมตร เมื่อถอนต้นกระจูดไปแล้ว หน่อก็จะแตกต้นใหม่ขึ้นมาแทนที่หมุนเวียนกันไปแหล่งวัตถุดิบ ในจังหวัด แหล่งผลิตกระจูดในจังหวัดพัทลุง มีเพียงแห่งเดียว คือ ที่หมู่บ้านทะเลน้อย ตำบลพนางตุง และตำบลทะเลน้อย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง เนื่องจากพื้นที่ดินมีลักษณะเป็นที่ลุ่ม อยู่ริมทะเลสาบ มีน้ำขังตลอดทั้งปี มีทั้งกระจูดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และที่ราษฎรปลูกรวมพื้นที่เพาะปลูกกระจูดในบริเวณดังกล่าว ประมาณ 1,000 ไร่เศษ ราษฎรแถบนี้ส่วนใหญ่ คือ ประมาณร้อยละ 80 – 90 ของครัวเรือนทั้งหมด ประกอบอาชีพหลักในการทำผลิตภัณฑ์จากกระจูด ฉะนั้น แต่ละครัวเรือนมักจะมีไร่กระจูดเป็นของตนเองด้วย โดยเฉลี่ยประมาณครัวเรือนละ 3 – 10 ไร่ เดิม “กระจูด ของจังหวัดพัทลุงถูกส่งออกไปขายต่างจังหวัดในรูป “วัตถุดิบ” อยู่เสมอ แต่เนื่องจากปัจจุบันการทำผลิตภัณฑ์จากกระจูดในจังหวัดมีการขยายตัวมาก จนปริมาณวัตถุดิบที่ผลิตได้ในจังหวัดไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ ต้องสั่งซื้อจากแหล่งผลิตจังหวัดที่อื่นอยู่เสมอ ซึ่งแหล่งผลิตต่างจังหวัดที่สำคัญ คือที่ตำบลเคร็ง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช

หัวข้อสนใจที่ศึกษา

“กระจูด” เป็นพืชตระกูลเดียวกับ “กก” (Sedge) คือ ในตระกูล Cyperaccae มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Lepironia artica late กระจูด เป็นวัชพืชที่เจริญเติบโตง่าย และแพร่พันธุ์ได้รวดเร็ว พบมากแถบภาคตะวันออก และภาคใต้ของประเทศไทย ลำต้นของกระจูดมีลักษณะกลมกลวง มีข้อปล้องภายในคล้ายลำไผ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1/8 – 5/16 นิ้ว ความสูงประมาณ 1 – 3 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเผ่าพันธุ์และสภาพแวดล้อม ต้นกระจูด ชอบขึ้นในที่ ๆ มีน้ำขังอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะบริเวณริมทะเลสาบที่เป็นดินโคลน ซึ่งเรียกว่า “พรุ” หรือชาวพื้นเมืองทางภาคใต้เรียกว่า “โพระ” ต้นกระจูดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติจะมีขนาดเล็ก และไม่ยาวนัก การเพาะปลูกกระจูดต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 3 ปี ต้นจึงจะโตได้ขนาด สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ คือ ลำต้นยาวไม่ต่ำกว่า 1 เมตร เมื่อถอนต้นกระจูดไปแล้ว หน่อก็จะแตกต้นใหม่ขึ้นมาแทนที่หมุนเวียนกันไปแหล่งวัตถุดิบ ในจังหวัด แหล่งผลิตกระจูดในจังหวัดพัทลุง มีเพียงแห่งเดียว คือ ที่หมู่บ้านทะเลน้อย ตำบลพนางตุง และตำบลทะเลน้อย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง เนื่องจากพื้นที่ดินมีลักษณะเป็นที่ลุ่ม อยู่ริมทะเลสาบ มีน้ำขังตลอดทั้งปี มีทั้งกระจูดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และที่ราษฎรปลูกรวมพื้นที่เพาะปลูกกระจูดในบริเวณดังกล่าว ประมาณ 1,000 ไร่เศษ ราษฎรแถบนี้ส่วนใหญ่ คือ ประมาณร้อยละ 80 – 90 ของครัวเรือนทั้งหมด ประกอบอาชีพหลักในการทำผลิตภัณฑ์จากกระจูด ฉะนั้น แต่ละครัวเรือนมักจะมีไร่กระจูดเป็นของตนเองด้วย โดยเฉลี่ยประมาณครัวเรือนละ 3 – 10 ไร่ เดิม “กระจูด ของจังหวัดพัทลุงถูกส่งออกไปขายต่างจังหวัดในรูป “วัตถุดิบ” อยู่เสมอ แต่เนื่องจากปัจจุบันการทำผลิตภัณฑ์จากกระจูดในจังหวัดมีการขยายตัวมาก จนปริมาณวัตถุดิบที่ผลิตได้ในจังหวัดไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ ต้องสั่งซื้อจากแหล่งผลิตจังหวัดที่อื่นอยู่เสมอ ซึ่งแหล่งผลิตต่างจังหวัดที่สำคัญ คือที่ตำบลเคร็ง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช

กระจูด

กระจูดเป็นหญ้าชนิดหนึ่งที่คล้ายๆกก มีลักษณะลำต้นกลมชอบขึ้นในพื้นที่ป่าพรุและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆได้มากมาย ถือเป็นการเสริมรายได้ให้แก่ชุมชนเป็นอย่างดี